หลวงปู่มหาเจิม







พระครูภาวนาปัญญาดิลก หรือ หลวงปู่มหาเจิม อดีตเจ้าอาวาสวัดสระมงคล ต.สระสี่มุม อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ละสังขารลงอย่างสงบ เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๒๕๕

หลวงปู่มหาเจิม เป็นพระปฏิบัติกรรมฐาน เป็นศิษย์พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) และหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ทั้งนี้ พระธรรมวิสุทธิมงคล หรือหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน อดีตเจ้าอาวาสวัดป่าเกษรศีลคุณ หรือวัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี เคยยกย่องหลวงปู่มหาเจิมเมื่อครั้งที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ว่า "เป็นพระอรหันต์ที่ยังดำรงขันธ์อยู่ในปัจจุบันนี้"




หลวงปู่มหาเจิม เป็น พระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ในสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และหลวงปู่เจิมท่านเคร่งครัด ในธรรมวินัย เป็นที่สุด พูดน้อย พูดแต่ความจริง ไม่พูดเล่น เป็นผู้รักสันโดษ ไม่ยินดีในลาภยศ สรรเสริญ ท่านสละ ไม่ยอมรับแม้ตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัด ลูกศิษย์ถามว่า ทำไมหลวงปู่ไม่ไปอยู่ภาคอีสาน จะได้โด่งดังเหมือนกับพระคณาจารย์อื่นๆ ท่านตอบว่า เราไม่อยากดัง มาอยู่ตรงนี้ก็ดีแล้ว จะได้ใช้กรรมให้หมดไป

             ส่าวนการจัดสร้างวัตถุมงคลนั้น หลวงปู่มหาเจิม ได้อนุญาตให้จัดสร้างวัตถุมงคลของท่านเป็นกรณีพิเศษ เมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๔๙  เนื่องในงานวันเกิดครบ ๙๐ ปี โดยมีข้อแม้ว่า "อนุญาตให้จัดสร้างเพียงครั้งเดียว และครั้งสุดท้าย จากนั้นให้เลิกโดยเด็ดขาด" ประกอบด้วย พระยอดธง รูปเหมือนลอยองค์ เหรียญรูปไข่ เหรียญเสมา ล็อกเกต รูปเหมือนหลวงปู่ยืนถือไม้เท้า และพระปิดตาเนื้อผง

             โดยได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ อุโบสถวัดสระมงคล โดยหลวงปู่พระมหาเจิม เป็นประธานจุดเทียนชัยอธิษฐานจิตภาวนาร่วมกับ พระเกจิคณาจารย์ดังสายกรรมฐานของวัดป่า อาทิ หลวงปู่พระมหาเจิม วัดสระมงคล จ.นครปฐม, หลวงปู่ท่อน วัดศรีอภัยวัน จ.เลย, หลวงปู่แผ้ว ปวโร วัดกำแพงแสน จ.นครปฐม หลวงปู่จันทร์แรม เขมสิริ วัดเกาะแก้วธุดงคสถาน จ.บุรีรัมย์, หลวงปู่บุญเพ็ง กัปโป วัดป่าวิเวกธรรม จ.ขอนแก่น, หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร วัดประชาชุมพลพัฒนาราม จ.อุดรธานี, หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญบรรพต จ.หนองคาย, หลวงพ่อมาลัย อุทโย วัดบางหญ้าแพรก,ห ลวงพ่อสุพจน์ ฐิตพฺพโต วัดห้วงพัฒนา จ.ตราด และ หลวงปู่บุญหลาย อัคคจิตโต วัดโนนทรายทอง จ.อำนาจเจริญ




เหรียญรูปไข่ แถวบน อ่านว่า "ทุ สะ นิ มะ" เป็นคาถาหัวใจอริยสัจ ๔ ซึ่งเป็นหลักคำสอนที่สำคัญของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์ทรงแสดงไว้อย่างชัดเจนในธรรมจักกัปปวัตนสูตรโปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ปัจจุบันนี้เรียกว่า "สารนาถ" ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ที่เราเรียกวันนี้ว่า "อาสาฬหบูชา" พระธรรมเทศนากัณฑ์นี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ปฐมเทศนา" คือ การเทศกัณฑ์แรกของพระพุทธเจ้าหลังจากตรัสรู้แล้ว ปฐมเทศนามีหลักฐานอยู่ในพระไตรปิฎกอย่างสมบูรณ์  ซึ่งตัวย่อแต่ละตัว มีความหมายดังนี้
  ทุ ย่อมาจาก ทุกข์ หมายถึง การมีอยู่ของทุกข์ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ ที่ชื่อว่าทุกข์เพราะทนได้ยาก
 สะ ย่อมาจาก สมุทัย หมายถึง เหตุเกิดทุกข์ ได้แก่ตัณหา คือความทะยานอยาก
 นิ ย่อมาจาก นิโรธ  หมายถึง ความดับทุกข์ ได้แก่ดับตัณหาให้สิ้นเชิง
 มะ ย่อมาจาก มรรค หมายถึง ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่อริยมรรค ๘ ประการ
              คาถาบทนี้สามารถเขียนควงกันได้ ๔ คาบ
 แบบที ๑. ทุ  สะ  นิ  มะ
 แบบที ๒. สะ  นิ  มะ  ทุ
 แบบที ๓. นิ  มะ  ทุ  สะ
 แบบที ๔. มะ  ทุ  สะ  นิ

              ส่วนแถวที่ ๒ (แถวกลาง) "นะโมวิมมุตตานัง" และแถวที่ ๓ (แถวล่าง) "นะโมวิมุตติยา" ซึ่งต้องอ่านต่อเนื่องกัน "นะโมวิมมุตตานัง นะโมวิมุตติยา" เป็น "พระคาถาโมรปริตร" หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "พระคาถาพญายูงทอง" มีความหมายว่า "ความนอบน้อมของข้าฯ จงมีแต่ผู้วิมุตแล้วทั้งหลาย ความนอบน้อมของข้าฯ จงมีแต่วิมุตตฺธรรม" 

              พระคาถาโมรปริตรนี้เป็นคาถาที่บรรดาพระป่าสาย หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ส่วนมากให้ความสำคัญในการบริกรรมพระคาถาบทหนึ่ง และเป็นคาถาที่ปรากฏในตำนานโมรปริตร (อุเทตะยัญจักขุมา) ซึ่งเป็นนิทานชาดก โดยสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็น "พญานกยูงทอง"

              นอกจากจะพบพระคาถาโมรปริตรนี้บนหลังเหรียญแทบทุกรุ่นของท่านพระอาจารย์ฝั้น แล้ว ยังพบคาถาบทนี้ในตะกรุดอีกด้วย ทั้งนี้ได้มีเหล่าบรรดาลูกศิษย์จำนวนมากไปหาอาจารย์ฝั้น ให้ทำตะกรุดให้ โดยจัดหาแผ่นโลหะทองเหลือง-ทองแดง-ตะกั่วไปพร้อม ท่านก็มีเมตตาจารให้ทุกคน โดยท่านจะจารพระคาถาเป็นภาษาขอม ลาว อ่านว่า นะโมวิมุตตานัง นะโมวิมุตติยา โดยส่วนใหญ่บางครั้งอาจมีหัวใจคาถาอื่นเพิ่มเติมบ้าง เช่น นะโมพุทธายะ และ นะมะพะทะ ผนวกเข้าไว้ก็ได้ ตะกรุดของพระอาจารย์ฝั้นบางคนก็เอาไปปิดเสาเรือน บางคนก็พกพาไว้ติดตัว โดยมีความเชื่อว่า สามารถกันไฟ กันฟ้าผ่า รวมทั้งแคล้วคลาด

              ส่วนยันต์ที่ปรากฏบนเหรียญเสมา ด้านหลัง แถวบน “หัวใจอริยสัจสี่” ที่ว่า “ทุ สะ นิ มะ” แต่สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กัน คือ มีบาตร กลด และกาน้ำ อยู่บนหลังเหรียญด้วยนั้น บ่งบอกว่าท่านเป็นพระธุดงค์มาก่อน และจะพบมากในหลังเหรียญพระป่าสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต



พระแจกฟรี! ค่านิยมหลักพัน
              ในการสร้างพระเครื่องรุ่นปัญญาบารมีของหลวงปู่มหาเจิมนั้น คณะกรรมการได้จัดสร้างพระปิดตาผงใบลานรุ่น ๑ ของหลวงปู่มหาเจิม ขึ้น มาเพื่อแจกฟรีสำหรับผู้นำใบโบชัวร์โฆษณามาแสดงที่วัด ด้วยเหตุที่หลวงปู่มหาเจิมยังไม่เป็นที่รู้จัก จึงไม่มีผู้มาขอรับพระแจกฟรี ส่วนที่ได้รับแจกก็นำไปแจกต่อให้ญาติๆ หรือเพื่อนๆ หากนับตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๙ จนถึปีนี้ผ่านไปเพียง ๕ ปี เศษๆ ใครจะไปคิดว่า "พระปิดตาผงใบลานรุ่น ๑ ของหลวงปู่มหาเจิม ที่แจกฟรี" ปัจจุบันมีค่านิยมหรือเช่าหากันในราคาหลักพันกลางๆ

              สำหรับยันที่ปรากฏบนพระปิดตานั้น

              ด้านหลังมีคาถา ดังนี้
 ๑.หัวใจพระฉิมพลี “นะ ชา ลี ติ” มักจะใช้คูกับ “พุท ธะ สัง มิ” หรือ หัวใจยอดศีล
 ๒.การ อ่านหรือเขียนอักขระ อะอุมะ หรือ อุอะมะ ที่ในคำคัมภีร์หนึ่งได้ระบุ อะอุมะ หรือ อุอะมะ เป็นนามศัพท์ย่อมาจากคำว่าโอม ซึ่งหมายถึงมหาเทวะผู้เป็นเจ้าของฮินดู ซึ่งแต่ละตัวมีควสามหมายดังนี้
  อะ หมายถึง พระนารายณ์
 อุ หมายถึง พระศิวะ
 มะ หมายถึง พระพรหม
              แต่ในตำราไสยศาสตร์หรือเลขยันต์ไทยมีการแทนไว้เช่นกันตามนี้  มีแบบแทนพระรัตนตรัยไว้ ๒ แบบ คือ แบ่งเป็นแบบโบราณ และแบบสมัยใหม่ ดังนี้
     แบบโบราณ
     มะ แทน พระพุทธ มาจาก มะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ
  อะ แทน พระธรรม มาจาก อะกาลิโกเอหิปัสสิโก
  อุ  แทน พระสงฆ์ มาจาก อุชุปะฏิปันโน สาวะกะสังโฆ
              ซึ่งมิได้เรียงเรียนแบบของฮินดู ในพระคาถาแห่งพระหัวใจ ชื่อว่า หัวใจตรีเพชร และสามารถเปลี่ยนมาใช้เป็น หัวใจพระไตรปิฏก โดยให้ มะ (แทน พระมหากัสสะปะ) อะ (แทนพระอานนท์) อุ (แทนพระอุบาลี) ผู้ซึ่งเป็นพระผู้เริ่มสังคายนาพระไตรปิฎก และเป็นคาถาที่ใช้คู่ กับ นะโมพุทธายะ ซึ่งขาดเสียอย่างในอย่างหนึ่งแทบมิได้
 แบบสมัยใหม่
     อะ แทน พระพุทธ มาจาก อะระหัง
  อุ แทน พระธรรม มาจาก อุตตรธรรม
 มะ แทน พระสงฆ์ มาจาก มหาสังฆะ
 พระจันทร์ครึ่งเสี่ยว “ตรี อัต ถะ จัง ทัง”
 วงกลมแทนพระอาทิตย์ “สุ ริ ยัน จัน ทัง” ในบางครั้งจะภาวนาต่อว่า “พุทธ ะ ปะ นะ ชะ ยะ เต”
 ยันต์ตัวใหญ่ที่ซ้อนกัน ๒ ตัว คือ “ พุท ธา” ตัวพุทอยู่ด้านในครอบด้วยตัวธา หมายความว่า “มีอำนาจมีฤทธิ์”

4 ความคิดเห็น: